การออกแบบบ้าน-อาคารให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม

ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้นแบบเมืองไทย เราควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและปรับปรุงสภาพแวดล้อม บริเวณที่ตั้งอาคาร เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อการประหยัดพลังงาน และควรออกแบบโดยพิจารณาดังนี้

หลังคา

การออกแบบหลังคาจะต้องคำนึงถึงการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะถ่ายเทเข้าอาคารโดยการนำความร้อน ซึ่งทำได้โดยการวัสดุที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูงเช่นหลังคาจากหลังคาไม้ หรือใช้วัสดุที่มีผิวมัน วัสดุที่มีผิวโทนสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี ทำให้อุณหภูมิของหลังคาลดลง

การใส่ฉนวนกันความร้อน

เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้อง กันการนำความร้อนผ่านหลังคาเข้าอาคารได้โดยตรง ในกรณีที่ฉนวนกันความร้อนมีแผ่นฟอยด์ที่มีผิวมันบุอยู่ควรเอาด้านที่มีแผ่นฟอยด์ขึ้นด้านบนเพื่อให้ผิวมันของแผ่นฟอยด์ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา

การระบายอากาศใต้หลังคา

เป็นวิธีลดความร้อนที่จะถ่ายเทเข้าอาคารได้ อาคารที่มีลักษณะเป็นจั่วสูง หรืออาคารที่มีช่องว่าง อากาศใต้หลังคาเปรียบเสมือนกับเป็นฉนวนความร้อนอยู่แล้ว ยังช่วยเพิ่มการระบายอากาศใต้หลังคาได้อีกด้วย

การลดพื้นที่รับแสง

หรือหลีกเลี่ยงการรับแสงโดยตรงทำได้โดย อาศัยการบังเงาจากภายนอกอาคาร เช่น การปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาแก่หลังคา การใช้อุปกรณ์บังแดดบังหลังคา หรือการใช้หลังคาสองชั้น เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิผิวหลังคาด้านนอกและด้านใน

ผนัง

เป็นส่วนของกรอบอาคารอีกส่วนหนึ่งที่ความร้อนจากแสงอาทิตย์ถ่ายเทเข้าอาคารโดยการนำความร้อน อาคารขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบจากการนำความร้อนผ่านผนังอาคารมากกว่าอาคารขนาดใหญ่

ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ใช้งานของอาคารขนาดเล็กจะอยู่ใกล้กับผนังอาคารมากกว่าอาคารขนาดใหญ่ ควรเลือกวัสดุที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูงมาใช้ทำผนังอาคาร จะช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าอาคารได้มาก เช่น การใช้จาก ไม้ หรือผนังเบา การเพิ่มช่องว่างอากาศ และการบุฉนวนกันความร้อนให้กับผนังอาคารที่มีประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนต่ำ เป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนของอาคารให้สูงขึ้น

การใช้ประโยชน์จากมวลของผนัง (Thermal Mass)

สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่มีบริเวณผนังของอาคารหนามากๆ เช่น แกนอาคาร (Core) หรือช่องลิฟท์ ควรจัดให้อยู่ในทิศทางที่ต้องรับแสงอาทิตย์ในช่วงบ่าย เช่น ทิศตะวันตก เนื่องจากผนังอาคารที่เป็นคอนกรีตหนามาก จะต้านความร้อนได้ดี และสามารถหน่วงความร้อนจัดในช่วงบ่าย ไปไว้ในช่วงเย็นที่ไม่มีผู้ใช้อาคารได้ นอกจากนี้แล้วในเวลากลางคืนยังสามารถคายความร้อนได้ดี หรือเก็บรักษาความเย็นไว้ได้มากกว่าซึ่งจะช่วยลดความร้อนในเวลากลางวันได้อีกทางหนึ่งด้วย

การใช้สีอ่อนหรือวัสดุสะท้อนแสงกับผนังด้านนอกของกรอบอาคาร

เพราะสีอ่อนหรือสีโทนสว่าง เช่น สีขาว สีเขียวอ่อน สีเหลืองอ่อน และวัสดุสะท้อนแสงที่มีผิวมันเงาจะช่วยสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ได้ดี

At StructurePress, we fully understand the need of coordination of job sites and maintaining strong partnerships with subcontractors to be able to deliver quality projects within the stipulated time and on a budget.
Our team ensures good relationships with subcontractors and other partners and work hard to maintain cooperation and mutual respect on all projects so that they are on schedule.
A growing number of homeowners are desiring and insisting on making their home eco-friendly so that they are healthy to live in and are also cost effective to operation.

66

106

3